รู้จักกับ Firewall กำแพงป้องกันการโจมตีจากภัยโลกไซเบอร์ ที่ผู้ใช้คอมต้องรู้
เนื่องจากมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางท่าน สนใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ และนับวันปัญหาการโจมตีผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อการป้องกันนอกจากคอมเราจะต้องมีซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันไวรัสมัลแวร์แล้ว ยังต้องมี Firewall ด้วย หลายท่านอาจสงสัยว่า firewall นี้คืออะไร มีประโยชน์และสำคัญอย่างไร วันนี้จะมาทำความรู้จักกัน

การมี Firewall นี้ จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ในเครื่อข่าย ได้รับการป้องกัน ไม่ให้ Hacker หรือซอฟต์แวร์อันตราย โจมตี เข้าถึงคอมพิวเตอร์ของคุณผ่านทางเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ Firewall ยังช่วยป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ที่เป็นเหยือมัลแวร์นั้น ส่งซอฟต์แวร์อันตรายไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นอีกด้วย

บางท่านสงสัย ว่า Firewall เป็น Software หรือเป็น Hardware กันแน่ ? คำตอบคือ เป็นได้ทั้งคู่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิธีการหรือ Firewall Architecture ในการควบคุมเครือข่าย


windows 7 นั้น เข้าไปที่ start >> เลือก control panel , พิมพ์ firewall บนช่อง search เลือก Windows Firewall คลิกที่ turn windows firewall on or off
สำหรับ Windows 8 , windows 8.1 ให้เลือกที่ Search (หรือกดปุ่ม Windows+Q แล้วพิมพ์ firewall >>> แล้วเลือกที่ Windows Firewall คลิกที่ turn windows firewall on or off

*หมายเหตุ สำหรับผู้ใช้ Windows Xp ต้องอัพเกรดมาเป็นระบบปฏิบัติการ Windows 7 หรือมาใช้เป็น Windows 8 เลยถ้า ฮาร์ดแวร์ไหว และรองรับ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการโจมตีจาก Hacker และ มัลแวร์อันตราย ที่ตอนนี้ windows xp ไม่สามารถรองรับการป้องกันการโจมตีรูปแบบใหม่ได้ รวมทั้ง microsoft จะเลิกสนับสนุนการอัพเดตความปลอดภัย windows xp ในเดือนเมษายนนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีซอตฟ์แวร์อื่นๆที่เป็น Firewall ด้วย บางตัวก็เป็น freeware เช่น
- ZoneAlarm
- Tiny Personal Firewall
- Sygate Personal Firewall
- Filseclab Personal Firewall
- Comodo Firewall Pro
- Pc Tools Firewall Plus
- Agitum Outpost Firewall
- Ashampoo Firewall
- Lavasoft Personal Firewall
- Sunbelt Personal Firewall
- Webroot Desktop Firewall
- Sunbelt Kerio Personal Firewall
- Jetico Personal Firewall
- SoftPerfect Personal Firewall
- Dynamic Security Agent
- Ghostwall Firewall
- R-Firewall
การที่จะใช้ firewall ให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้นจะขึ้นอยู่กับนโยบายความปลอดภัยโดยรวมขององค์กร และจิตสำนึกในการที่จะรักษาความปลอดภัยภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคุณเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น